12 กฎเหล็ก The Geneva Seal: มาตรฐานของการขายนาฬิกาแบรนด์เนม

จากบทความที่แล้ว เราได้พาคนรักนาฬิกาเพลิดเพลินไปกับประวัติความเป็นมาของ The Geneva Seal ตรารับรองทรงคุณค่าแห่งวงการนาฬิกาแบรนด์หรู วันนี้เราจะพาทุกคนเจาะลึกไปถึง 12 กฏเหล็กของ The Geneva Seal ที่กลายมาเป็นมาตรฐานของการซื้อขายนาฬิกาแบรนด์เนมระดับ Hi-End ทั่วโลก หากนาฬิกาแบรนด์ใดที่ได้รับเครื่องหมายนี้ ก็ย่อมการันตีถึงคุณภาพอันเหนือชั้นได้อย่างไม่ต้องสงสัย 

รู้จัก 12 กฏ The Geneva Seal มาตรฐานในการซื้อขายนาฬิกาแบรนด์เนม

12 กฎเหล็ก The Geneva Seal

  1. งานฝีมือของส่วนประกอบเครื่อง รวมทั้งกลไกเพิ่มเติมต่าง ๆ จะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐานนาฬิกาของสำนักงานตรวจสอบแห่งเจนีวา โดยชิ้นส่วนที่เป็นโลหะต้องผ่านการขัดเงา ส่วนผิวหน้าที่สามารถมองเห็นได้จะต้องได้รับการขัดให้เรียบ หัวสกรูต้องผ่านการขัดจนขึ้นเงา และร่องสกรูต้องได้รับการขัดเกลาแต่งขอบ
  2. ชิ้นส่วนกลไกทั้งหมดในส่วนของชุดเกียร์ถ่ายกำลังและระบบปล่อยจักร ต้องติดตั้งทับทิมกันสึกหรอ โดยชิ้นทับทิมนั้นจะต้องได้รับการขัดแต่ง ในส่วนของสะพานจักร ทับทิมกันสึกต้องเคลือบแข็งครึ่งหนึ่งและขัดแต่งฐานรองรับทับทิมกันสึกเพื่อเพิ่มความแข็งแรงทนทาน สำหรับส่วนฐานรองปลายทับทิมกันสึกไม่จำเป็นต้องขัดแต่ง 
  3. ใยลานนาฬิกาควรยึดลงในร่องด้วยดุมที่มีหัวและบ่ากลม โดยอนุญาตให้ใช้ดุมแบบเลื่อนขยับได้ 
  4. ในการติดตั้งเข็มนาฬิกา จะต้องติดตั้งด้วยตัวยึดจับ ยกเว้นกลไกใดที่มีความบางเป็นพิเศษ ไม่ต้องใช้ระบบจับยึด
  5. ระบบควบคุมบาลานซ์ที่มีรอบการหมุนแบบรัศมีแปรผันนั้น อนุญาตให้ใช้ได้ แต่ต้องเป็นไปตามข้อกำหนด
  6. ล้อเฟืองต้องได้รับตกแต่งมุมทั้งด้านบนและด้านล่าง สำหรับเฟืองที่หนา 1.5 มิลลิเมตร หรือบางกว่า อนุญาตให้ขัดเงาสำหรับสะพานจักรเพียงด้านเดียว
  7. ในการประกอบชุดเฟืองจักร เช่น แกนเดือยหมุนและผิวหน้าเดือยหมุน ต้องเว้นพื้นที่สำหรับขัดเงา 
  8. ระบบเฟืองต้องมีน้ำหนักเบาและหนาไม่เกิน 0.16 มิลลิเมตร สำหรับกลไกนาฬิกาขนาดใหญ่ต้องหนาไม่เกิน 0.13 มิลลิเมตร ส่วนกลไกนาฬิกาที่บางกว่า 0.18 มิลลิเมตร ผิวหน้าด้านล็อกต้องได้รับการขัดเงาด้วย
  9. กระเดื่องนาฬิกาจะต้องถูกควบคุมด้วยขอบกั้นแบบติดตั้งตายตัว เพื่อแยกหมุดสลักหรือดุมต่าง ๆ ออกจากกัน
  10. ชิ้นส่วนกลไกเคลื่อนไหวที่ต้องติดตั้งกับระบบรองรับแรงกระแทกนั้นสามารถใช้ได้ 
  11. ล้อเฟืองสับสปริงและเฟืองก้านมะยมต้องขัดแต่งให้ได้ตามรูปแบบที่ขึ้นทะเบียนไว้ 
  12. ไม่อนุญาตให้ใช้ลวดสปริง 

ขั้นตอนการทดสอบก่อนมอบเครื่องหมาย The Geneva Seal

The Geneva Seal กฏที่ยกระดับการซื้อขายนาฬิกาแบรนด์เนม

เพราะกลไกทุกชิ้นล้วนเป็นส่วนประกอบสำคัญของเรือนเวลาอันสมบูรณ์แบบ แม้แต่กลไกที่เล็กที่สุดหรือส่วนที่บอบบางที่สุดอย่างเข็มนาฬิกา ดังนั้นสำนักงานผู้ตรวจสอบแห่งเจนีวาจึงได้ร่วมมือกับ TIMELAB ผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องบอกเวลา เพื่อตรวจสอบให้แน่ใจว่านาฬิกาเรือนนั้นสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ใช่เฉพาะแค่รูปลักษณ์ภายนอกที่ดูสวยงามไร้ที่ติเพียงอย่างเดียว แน่นอนว่าการทดสอบนี้จะช่วยยกระดับการซื้อขายนาฬิกาแบรนด์เนมขึ้นไปอีกขั้น ให้ผู้ซื้อสามารถมั่นใจได้ว่าราคาที่จ่ายไปคุ้มค่ากับสิ่งที่ได้ครอบครอง

การตรวจสอบของ TIMELAB นั้นประกอบด้วยขั้นตอนที่ละเอียดและพิถีพิถัน ตั้งแต่ความสามารถในการกันน้ำ, การบอกเวลา, การสำรองพลังงาน และฟังก์ชันการทำงานที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของนาฬิกาแต่ละเรือน 

ความสามารถในการกันน้ำ

ในการทดสอบความสามารถในการกันน้ำ นาฬิกาแต่ละเรือนจะถูกทดสอบตั้งแต่ระดับเริ่มต้นที่ 3 bar ซึ่งเป็นระดับที่สามารถสวมนาฬิกาในขณะที่ล้างมือหรืออยู่ท่ามกลางสายฝนได้ หากนาฬิกาเรือนใดที่ผู้ผลิตระบุว่าสามารถกันน้ำในระดับที่ลึกกว่า ก็จะได้รับการทดสอบเพิ่มเติมตามที่กล่าวอ้าง โดยนอกจากความสามารถในการกันน้ำแล้ว ยังต้องได้รับการทดสอบที่ความดันอากาศระดับ 0.5 bar เพื่อจำลองการสัญจรทางอากาศอีกด้วย 

bar คือหน่วยวัดความดัน สำหรับนาฬิกาที่มีระบบกันน้ำ ระดับ 3 bar = 30 เมตร

แม้ว่าในความเป็นจริงแล้วการขายนาฬิกาแบรนด์เนมนั้นไม่จำเป็นที่จะต้องมีคุณสมบัติกันน้ำเพื่อที่จะได้รับเครื่องหมาย The Geneva Seal แต่หาก TIMELAB ทดสอบแล้วว่าไม่สามารถกันน้ำได้ ก็จะมีการระบุให้เห็นอย่างชัดเจนในใบรับรอง

ความสามารถในการบอกเวลา

ก่อนที่จะเริ่มต้นทดสอบความสามารถในการบอกเวลา แต่ละแบรนด์ต้องรับทราบว่านาฬิกาจะถูกทดสอบในสถานการณ์ที่หลากหลาย และถูกทดสอบมากกว่า 1 ครั้ง ในระยะเวลานานกว่า 7 วัน เพื่อดูว่าหากมีการนำไปสวมใส่จริงจะให้ผลลัพธ์อย่างไร ทำงานได้ดีหรือไม่ ซึ่งหากเป็นนาฬิกา Chronograph ก็จะถูกทดสอบให้จับเวลาอย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง

นอกจากการบอกเวลาแล้ว หากนาฬิกาเรือนใดที่มีฟังก์ชันปฏิทิน ก็จะมีการตั้งค่าให้แสดงเวลาในปีอธิกสุรทิน หรือปีที่เดือนกุมภาพันธ์มี 29 วัน เพื่อทดลองการแสดงผลที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น

ความสามารถในการสำรองพลังงาน

ขั้นตอนสุดท้ายของการทดสอบคือส่วนของการสำรองพลังงาน เพื่อดูว่านาฬิกาเรือนนั้นสามารถสำรองพลังงานได้ตามมาตรฐาน หรือสูงกว่าที่แต่ละแบรนด์ได้ระบุไว้หรือไม่ แน่นอนว่าหากเป็นนาฬิกา Chronograph ก็จะมีการทดสอบเพื่อดูว่าเมื่อจับเวลาอย่างต่อเนื่องแล้วจะใช้พลังงานไปทั้งหมดเท่าไหร่ 

การจารึกเครื่องหมายอันทรงเกียรติ

หลังจากผ่านการทดสอบอันละเอียดและยาวนานทั้งหมดนี้ หากเรือนเวลาใดที่ผ่านการทดสอบ ก็จะได้รับมอบใบรับรองและได้รับเครื่องหมาย The Geneva Seal อันทรงเกียรติเพื่อยืนยันถึงประสิทธิภาพที่เหนือชั้น 

แต่ใช่ว่าเครื่องหมายนี้จะปรากฏอยู่ที่ตำแหน่งใดก็ได้ เพราะก่อนทำการจารึกจะต้องได้รับการเห็นชอบจากผู้ผลิต ซึ่งหากเป็นไปได้ก็จะอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้เคียงกับ Serial Number นอกจากนี้ แต่ละแบรนด์จะต้องใช้กลไกที่ผ่านการรับรองจาก TIMELAB อีกด้วย

ก่อนหน้านี้ เครื่องหมาย The Geneva Seal จะถูกจารึกโดยการประทับตรา หรือแกะสลัก แต่ภายหลังในปี 2014 ได้เปลี่ยนไปใช้วิธีกัดกรดแทน เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับตัวเรือนจากการใช้เครื่องมือแกะสลัก แต่ในปัจจุบันนี้ มีการพัฒนากรรมวิธีการจารึกเพื่อป้องกันการลอกเลียนแบบและนำไปสู่การซื้อขายนาฬิกาที่ไม่ได้มาตรฐาน ด้วยการซ่อนตราสัญลักษณ์ The Geneva Seal ไว้ในจุดที่มีเพียงช่างฝีมือเท่านั้นที่สามารถมองเห็นได้ 

ทั้งหมดนี้ก็คือเรื่องราวของ 12 กฎเหล็ก The Geneva Seal ที่เกิดขึ้นจากความตั้งใจที่จะยกระดับวงการนาฬิกา Hi-End ให้เหนือไปอีกขั้นด้วยมาตรฐานระดับสูง ซึ่งหากใครสนใจต้องการเป็นเจ้าของนาฬิกาแบรนด์หรูที่ผ่านการรับรองด้วยเครื่องหมายอันทรงคุณค่านี้ Pixiu Watch คือร้านรับซื้อขายนาฬิกา Hi-End ที่รวบรวมเรือนเวลาอันงดงามไว้มากมาย เพื่อส่งมอบคุณค่าทางจิตใจให้แก่ผู้หลงใหลได้แลกเปลี่ยนและสะสม เรายินดีให้คำปรึกษาและคำแนะนำเรื่องเรือนเวลาจากหลากหลายแบรนด์ดัง เพื่อส่งมอบความงดงามให้แก่ผู้รักนาฬิกาทุกท่าน สามารถติดต่อเราได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 083-713-9292 (โอ๊ต) และ 081-535-3595 (ตี๋) ทุกวัน เวลา 7.00 - 24.00 น.