AP Chronicles Series EP. 4: ตัวเรือนของนาฬิกา AP Royal Oak

ต่อจากบทความที่แล้ว การเดินทางที่จารึกลงบนประวัติศาสตร์แห่งโลกเรือนเวลาของ นาฬิกา Audemars Piguet Royal Oak ยังไม่จบลง ตรงกันข้าม มีเรื่องราวอีกมากมายที่คนรักนาฬิกาควรได้อ่านเป็นอย่างยิ่ง เพราะทุกแง่มุมเปรียบเสมือนชิ้นส่วนจิ๊กซอว์ที่จะค่อย ๆ ประกอบเข้าหากัน จนกลายเป็นภาพใหญ่ ที่ให้คำตอบว่าเหตุใดนาฬิกา AP จึงได้รับการยกย่องอย่างไม่เสื่อมคลาย

โจทย์สุดหินด้านการกันน้ำ

การกำเนิดของนาฬิกา AP Royal Oak มีรายละเอียดเกี่ยวกับแรงบันดาลใจของ Gérald Genta ดีไซน์เนอร์ผู้ออกแบบ Royal Oak จากความทรงจำในวัยเด็ก เขาได้อุทิศตัวเองให้กับการสร้างสรรค์นาฬิกา และเคยกล่าวเอาไว้ว่า

ซีลกันน้ำ 100 เมตรที่ใช้ในช่วงยุค 70 ของนาฬิกา AP

“ในตอนที่ผมเด็ก ๆ ยังไม่มีนาฬิกาที่กันน้ำได้เกิดขึ้นมาก่อน ผมจำได้ว่าเคยเห็นนักประดาน้ำเอาหมวกนิรภัยมาครอบนาฬิกา Pont de la Machine เพื่อกันน้ำ ผมชอบมาก รู้สึกประทับใจเมื่อเห็นสลักแปดตัวและซีลยางที่ออกแบบมาเพื่อปกป้องชีวิตผู้คนใต้ผืนน้ำ ผมอยากสร้างสรรค์นาฬิกาที่กันน้ำได้ เพื่อเป็นการให้เกียรติและหวนระลึกนึงหมวกนิรภัยใบนั้น”

ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นที่มาของเรื่องราวการพัฒนาตัวเรือนนาฬิกาข้อมือ Audemars Piguet Royal Oak ที่กันน้ำลึก 100 เมตร โดยความร่วมมือกับบริษัท Favre-Perret จาก La Chaux-de-Fonds หลังจากที่ต้นแบบถูกผลิตขึ้นด้วยทองคำ ซึ่งเป็นวัสดุที่มีความยืดหยุ่นสูง ตัวเรือนที่ผลิตขึ้นในซีรีส์นี้ทำจากเหล็ก แต่ยังประดับประดาด้วยอัญมณีมากมายหลากหลาย

อุปกรณ์นักประดาน้ำที่เป็นแรงบันดาลใจของนาฬิกา AP

โครงสร้างตัวเรือนแบบ All in One

นาฬิกา AP Royal Oak 5402ST No. A26

ตัวเรือนแบบ Monocoque ของนาฬิกา AP Royal Oak ผสานส่วนตรงกลางของตัวเรือน ฝาหลัง และสายนาฬิกาให้กลายเป็นหนึ่งเดียว โดยแกะสลักจากเหล็กชิ้นเดียว รวมถึงสองข้อต่อแรกของสายนาฬิกา ฝาหลังผสมผสานสันเหลี่ยมโค้งของทรงถังเบียร์เข้ากับวงกลม โดยหากมองจากด้านหลัง วงกลมจะหายไปเนื่องจากกลืนเข้ากับรูปแปดเหลี่ยมที่โค้งมนได้อย่างพอดิบพอดี สะท้อนกับขอบหน้าปัด มีการแกะสลักรายละเอียดราวกับเป็นฝาหลัง และค่อย ๆ เรียบขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อแนบชิดกับสายนาฬิกา มุมมองด้านข้างเผยให้เห็นถึงการปรับแต่งอย่างเต็มรูปแบบของส่วนประกอบที่วิจิตร ตรงกลางของตัวเรือนจะโค้งเล็กน้อยเพื่อให้เข้ากับรูปร่างของข้อมือ

นาฬิกาข้อมือ Audemars Piguet Royal Oak 5402ST No. A26
เอกสารแสดงเทคนิคการตกแต่งตัวเรือนของนาฬิกา Audemars Piguet

บทความปี ค.ศ. 2012 ในโบรชัวร์ฉลองครบรอบ 40 ปีของ Royal Oak ให้รายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอนที่เกี่ยวข้องในการผลิตส่วนประกอบของรุ่น 15202 ไว้ดังนี้

"นั่นหมายความว่าหลังจากการดำเนินการตัดชิ้นงานขั้นต้นแล้ว จะมีขั้นตอนอีกกว่า 44 ขั้นตอนทั้งการกลึง เก็บขอบเหลี่ยม และแกะสลักที่ต้องดำเนินการแยกออกจากกันอย่างสิ้นเชิง ก่อนจะไปถึงขั้นตอนนำตัวเรือน Monohull เข้าสู่กระบวนการขัดแต่งด้วยมือ เมื่อประกอบเคสสำหรับติดตั้งกลไกเรียบร้อย ก็ถึงเวลาของงาน Finishing ด้วยการปัดลายซาติน ทั้งส่วนตัวเรือน ด้านข้าง และส่วนขา”

นาฬิกา AP ฝาหลังแบบผสม "monocoque" ของรุ่น 15202

ในปี ค.ศ. 1972 ขั้นตอนการตกแต่งตัวเรือนทวีความซับซ้อนมากขึ้น เนื่องจากอุตสาหกรรมนาฬิกายังไม่ได้ใช้เครื่องจักรที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ (CNC) ในทางกลับกัน การตกแต่งแบบแมนนวลแทบไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลยในช่วง 5 ทศวรรษที่ผ่านมา โดยในรายละเอียดการจำหน่าย สำหรับ Royal Oak รุ่น 5402 ระบุไว้ว่า

"ตัวเรือนชิ้นกลาง : ตกแต่งด้วยลายซาตินที่ด้านบนและด้านข้าง, ขอบส่วนริมปัดลายซาตินตามแนวนอน, ขึ้นเงาที่สันเหลี่ยม, และปัดลายซาตินเป็นทรงกลมที่ฐานล่างของตัวเรือน, ร่วมกับการพ่นทรายในพื้นที่ที่เหลือ"

ซึ่งมีข้อสังเกตถึงลายปัดทรงกลมที่ส่วนในของตัวเรือนชิ้นกลาง จะเห็นได้ก็ต่อเมื่อช่างทำนาฬิกาถอดตัวเรือนออก ซึ่งประเด็นนี้ Martin K. Wehrli ชี้ให้เห็นว่าเป็นเทคนิคการตกแต่งแบบดั้งเดิมของนาฬิกาสมัยยังไม่กันน้ำ เพื่อดักจับฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เข้าภายใน ไม่ให้ลอยเข้าไปเกาะกับกลไก

นาฬิกา Audemars Piguet  Royal Oak 5402ST มุมมองด้านหน้า

ขอบแปดเหลี่ยมและคริสตัลแซฟไฟร์

แม้ขอบเบเซลของนาฬิกาข้อมือ Audemars Piguet Royal Oak มักจะถูกจำกัดความว่าเป็นรูปทรงแปดเหลี่ยม อย่างไรก็ตาม รายละเอียดของมันมีมากกว่านั้น โดยเริ่มจากจุดศูนย์กลางเป็นวงกลม ส่วนรอบนอกเป็นรูปแปดเหลี่ยม ขัดเงาแนวตั้งและโค้งอย่างวิจิตรบรรจง ด้วยมุมเอียง 40 องศาเป็นไปตามรูปทรงแปดเหลี่ยมที่โค้งมนของกรอบอย่างสมบูรณ์แบบ และส่งผลให้ได้ขอบที่ปกคลุมด้วยลายซาตินบาง ๆ เครื่องขัดเงาช่วยสร้างพื้นผิวที่ขัดเงาแบบกระจก ซึ่งเน้นเทคนิคแบบดั้งเดิมของการลบมุม เมื่อมองจากด้านหน้า เรียกได้ว่าส่วนนี้กินพื้นที่เกือบหนึ่งในสี่ของพื้นผิวกรอบและเชื่อมโยงกับเหลือบแสงของหน้าปัด Tapisserie ต่อเนื่องไปกับขอบเหลี่ยมของสายนาฬิกาได้อย่างไร้ที่ติ

ที่แต่ละมุมของส่วนโค้งทั้งแปดด้านที่เจาะขอบกรอบ จะมีรูหกเหลี่ยมสำหรับใส่สกรู ซึ่งเป็นไปตามธรรมเนียมของการทำนาฬิกา บางครั้งขอบหน้าปัดมีเครื่องหมายบอกชั่วโมง ทั้งที่ตำแหน่ง 12, 3, 6 และ 9 นาฬิกา หรือในแต่ละชั่วโมง ตามธรรมเนียมเดิม สกรูยึดเคสจะถูกซ่อนไว้เสมอ อย่างไรก็ตาม Gérald Genta เป็นนักออกแบบนาฬิกาที่มีความก้าวหน้าในวิสัยทัศน์ เขาไม่เดินรอยตามธรรมเนียมดั้งเดิม และจัดโครงสร้างเส้นรอบวงของกรอบแปดองค์ประกอบโดยไม่ขึ้นกับหน้าปัด นอกจากนั้น เขาเว้นกรอบด้วยสกรูยึดที่มองเห็นได้ ด้วยเหตุผลด้านความสวยงาม เขาตัดสินใจที่จะไม่ขันสกรูในตำแหน่ง 12 นาฬิกาแบบคลาสสิก เรียกได้ว่า Genta ออกแบบกรอบที่ขับเคลื่อนด้วยไดนามิกและจังหวะแห่งสุนทรียภาพภายในตัวเอง โดยไม่ขึ้นกับหน้าปัด แต่ยังคงสะท้อนการออกแบบของตัวเรือนและสายนาฬิกาที่มีเอกลักษณ์ได้อย่างครบถ้วน

ด้วยความหนาสูงสุดสองมิลลิเมตร ด้านในของกรอบนาฬิกา Audemars Piguet Royal Oak “Jumbo” ถูกเจาะออกบางส่วนเพื่อให้มีที่ว่างสำหรับซีลกันน้ำ มีการตัดส่วนล่างเล็กน้อยเพื่อให้ขอบของส้นคริสตัลแซฟไฟร์ไม่โดนแสงแดดมากเกินไป อีกทั้งยังกันน้ำเมื่อปิดผนึกตัวเรือนด้วยแรงดัน

ซื้อนาฬิกา AP ของแท้ ต้องที่ Pixiu Watch

เรื่องราวการสร้างสรรค์ตัวเรือนของ Royal Oak เพิ่งมาถึงครึ่งทางเท่านั้น สามารถติดตามตอนต่อไปได้ในบทความหน้าของ Pixiu Watch และหากท่านใดอยากได้นาฬิกา AP Royal Oak ของแท้ ไปครอบครองสักหนึ่งเรือน ต้องที่ Pixiu Watch เราเป็นร้านขายนาฬิกาแบรนด์เนมมือสองที่รวบรวมทุกเรือนเวลาล้ำค่าเอาไว้ ให้คุณได้เข้ามาค้นหาเสน่ห์ที่ใช่กับนาฬิกาเรือนสวยที่ต้องการ พร้อมช่วยให้คำปรึกษาและแนะนำการซื้อแบบมืออาชีพ ผู้เข้าใจในความหลงใหลของเหล่านักสะสมมาอย่างเนิ่นนาน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมกับเราได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 083-713-9292 (โอ๊ต) และ 081-535-3595 (ตี๋) ทุกวัน เวลา 7.00-24.00 น.

 

แหล่งอ้างอิง

  1. THE FIRST ROYAL OAK CASES สืบค้นเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2566 จาก https://apchronicles.audemarspiguet.com/en/article/the-first-royal-oak-cases